วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne's eclecticism)

                ทิศนา แขมมณี  กล่าวไว้ว่า
Gagne and Briggs (1974:121-136) ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
1.การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้
2.การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณเพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
3.การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
4.การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา
5.การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
7.การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปและตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด ขั้น  ดังนี้
ขั้นที่  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 

ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น
ขั้นที่  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

     
         http://surinx.blogspot.com/  กล่าวไว้ว่า กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความวับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน

     สรุป
     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย กล่าวถึง ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยเริ่มจาก การสร้างความสนใจ บอกวัตถุประสงค์ ทบทวนความรู้เดิม นำเสนอเนื้อหาใหม่ ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ทดสอบความรู้ใหม่ สรุปและนำไปใช้
     อาศัยทฤษฎีที่หลากหลาย จากความรู้ที่มีหลากหลายประเภท สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ่ง ใช้การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมามากแต่ก็ได้ผสมผสานการเรียนรู้ ในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ไม่ได้ละทิ้งความรู้เก่า ๆไป

    แหล่งอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

              ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) 
เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

http://surinx.blogspot.com (ออนไลน์)/เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)



ทิศนา แขมมณี (2550: 85) กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์    คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการในจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง   
มาสโลว์   ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น เรียงตามลำดับ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม 
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น 
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง 

http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php?id=86  กล่าวไว้ว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน หลักการในจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นกระบวนการเป็นสำคัญต่การเรียนรู้  ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ปลอดภัย  ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

http://courseware.rmutl.ac.th/courses/43/unit913.htm  กล่าวไว้ว่า มนุษย์มีศักยภาพตามธรรมชาติที่จะเรียนรู้ และการเรียนรู้จะได้ผลดีหากการเรียนรู้นั้นมีความหมาย หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้อย่างแท้จริง ส่วน มาสโลว์   เน้นเรื่องการเรียนรู้เป็นการพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญสูงสุดของ ตน โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเป็นดีโดยกำเนิด ทุกคนต้องการกระทำดี ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนไปจนเจริญสูงสุด

สรุป
     ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม คือ ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาโดยนักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเอง มีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่า ตนเองมีความต้องการสิ่งใดและมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า เด็กควรได้รับความช่วย เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้ หรือการมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเองด้วย   

     แหล่งอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

       ทิศนา แขมมณี กล่าวไว้ว่า
Lall and Lall (1983:45-54) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งเพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
          Bigge (1982:190-202) ทฤษฎีเกสตัลท์ กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

                http://theory-tishafan.blogspot.com/p/cognitivism.htm กล่าวไว้ว่า กลุ่มพุทธนิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) กล่าวไว้ว่า กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
     ทฤษฎีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
          1. ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทเมอร์(Max Wertheimer) วุล์แกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคริ์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka) และเคริ์ท เลวิน (Kurt Lewin)
          2. ทฤษฎีสนาม(Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญ คือ เคริ์ท เลวินซึ่งได้แยกตัวจากกลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์ ในระยะหลัง
          3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman)
          4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Inlellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner)
          5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ( A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel)


    สรุป
              ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม คือ มนุษย์เรียนรู้ได้โดยใช้สติปัญญาและเหตุผล แต่การอธิบายในรายละเอียดและจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง 
              นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ได้อธิบายรวม ๆ ว่า การเรียนรู้เกิดจากความเข้าใจ หรือรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งนั้น ๆ และได้กำหนดศัพท์เฉพาะสำหรับกระบวนการการใช้สติปัญญาลักษณะนี้ว่า “การหยั่งรู้” (Insight) ซึ่งเป็นแม่บทของจิตวิทยากลุ่มนี้ เพียเจต์ บรุนเนอร์ และกาเย่ ได้เน้นถึงพัฒนาการการใช้ความคิดและสติปัญญาของเด็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก เคิร์ท เลวิน ใช้ทฤษฎีสนาม โดยใช้พลังของความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ทอลแมน ได้ใช้ทฤษฎีเครื่องหมาย กระตุ้นผู้เรียนและเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้  ส่วนออซูเบล ได้ให้ความสำคัญกับทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยให้มีการนำเข้าสู่บทเรียนก่อนการสอน จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะแบ่งระยะของพัฒนาการทางสติปัญญา และลักษณะหรือเงื่อนไขของการเรียนรู้แตกต่างกันไปบ้าง ก็จะต้องยอมรับว่าพวกเขามองสิ่งเดียวกันในแง่มุมต่าง ๆ กัน ซึ่งทำให้แนวความคิดของจิตวิทยาพุทธินิยมลึกซึ้งและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   


     แหล่งอ้างอิง   

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา http://surinx.blogspot.com/ (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม  2555

 http://theory-tishafan.blogspot.com/p/cognitivism.html (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม  2555

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)



ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

           ทิศนา แขมมณี กล่าวไว้ว่า
                ธอร์นไดค์(1993:56-57) ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก (trial and error) ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้วบุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเดียว และจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

               จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580 กล่าวไว้ว่า   สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้

               วัตสัน(http://www.geocities.com/aewatcharaphon/file5.htm) กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์เกิดขึ้นและแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่ถูกจัดสร้างขึ้นหรือเป็นไปตามสภาพธรรมชาติจะช่วยให้เราสามารถควบคุมและทำนายพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลได้เขาสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปตามปฏิกิริยาในของอินทรีย์ซึ่งหมายถึงระบบประสาทและอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งจะเกิดการเรียนรู้และตอบสนองตามปริมาณความเข้มของสิ่งเร้าในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ตามประสบการณ์ ภายในร่างกายของบุคคลมีพฤติกรรมมากมายที่วัตสันอธิบายว่าเป็นเพราะการทำงานของสมองรวมทั้งระบบประสาททั้งหมดเขาพยายามที่จะจำกัดขอบเขตการศึกษาค้นคว้าวิจัยเฉพาะพฤติกรรมภายนอกและการศึกษาพฤติกรรมนี้ประกอบด้วยตัวแปร 3 ประการ คือ    
                 1.ประสามรับสัมผัสของอินทรีย์ (Organism’s receptors)
                 2.ประสาทสนองตอบของอินทรีย์ (Organism’s effectors)

                 3.ระบบประสาททั้งหมด (The nervous system)


    สรุป         
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม Behaviorism) หมายถึง การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลวการกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวคิด
    1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's connectionism)   
    2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือแบบอัตโนมัติ (Classical conditioning theory)    
    3. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioning theory)


แหล่งอ้างอิง     

                ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                วัตสัน http://www.geocities.com/aewatcharaphon/file5.htm  (ออนไลน์
เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555


จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) http://www.learners.in.th/blog/ci6601-1/427580 (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด ( Apperception )


ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception )

              ทิศนา แขมมณี (2550 : 48 – 80) กล่าวไว้ว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
                 2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
                3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก(feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
                4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วนได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
                5.แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย  เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับ ความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
                6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ 

               ณัชชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
              
                 http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn กล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling)คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 

     สรุป
     ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception) คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากบุคคลที่ได้รับประสบการณ์ผ่านประสาททั้ง 5 และความรู้สึก เมื่อมีการรับรู้แล้วก็จะเกิดการเชื่อมโยงทางความคิดแล้วทำการประมวลผลที่ได้จากการรับรู้และการเชื่อมโยงออกมา

     แหล่งอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) (ออนไลน์)  เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555

http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)


ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ และสิ่งที่มีความหมายมากคือ แนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากกิจกรรมการใช้สื่อรูปธรรม (Ginsburj & Opper , 1969)หากแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียนและแนะนำผู้เรียนมากกว่าเป็นผู้สอน โดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget'sTheoryofIntellectual Developement) 

ทิศนา แขมมณี (2550) กล่าวไว้ว่า
                         เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือคนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผยเป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ คนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว
                  ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก และควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็กอายุ3-5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

                  รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การรเยนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย

http://surinx.blogspot.com/  กล่าวไว้ว่า  นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
      ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
               1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด  เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
               2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
                3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
               4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
              
5.เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
            6.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
            7.ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
            8.ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

      หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น 
 2.การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3.ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
4.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก


สรุป
     ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) ธรรมชาติ คือแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะการใช้ของจริงที่เป็นรูปธรรมในการเรียนรู้นั้น สามารถที่จะให้เด็กนั้นเข้าใจได้ง่าย เรียนรู้ได้ดี การจัดการศึกษาควรจัดการศึกษาให้เด็ก ควรพิจารณาจากระดับอายุเป็นหลัก ยึดให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงความต้องการและความสนใจของตน ให้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
      
แหล่งอ้างอิง

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (1/2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.มหาสารคาม:โรงพิมพ์สหบัณฑิต.

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

http://surinx.blogspot.com/ (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)


ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

                     บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty)

  ทิศนา แขมมณี (2550: 45 - 50) กล่าวไว้ว่า
                1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง 
                2.มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
                3.สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
                4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
                5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น

    http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 กล่าวไว้ว่า      นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา

 
สรุป
     ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) เป็นทฤษฎีที่พัฒนาสมองและสติปัญญาของผู้เรียนให้ปราดเปรื่อง โดยการฝึกให้มาก เพื่อให้ตัวผู้เรียนนั้นมีความแข็งแกร่งของสมองมากยิ่งขั้น ทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และกระตุ้นความรู้ของผู้เรียนออกมา ใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ฝึกและปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้และดึงความรู้ของผู้เรียนออกมา อีกทั้งยังช่วยเติมความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน

แหล่งอ้างอิง

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (1/2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.มหาสารคาม:โรงพิมพ์สหบัณฑิต.

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555