วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)


ทิศนา แขมมณี (2554:96) กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพ เพอร์ทแนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียนหากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน


ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) กล่าวไว้ว่า
แนวคิดของทฤษฏีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 


รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง (http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html)    กล่าวไว้ว่า  พื้นฐานของทฤษฎี Constructionism เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์งานที่มีความหมายกับตนเอง ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กมีความสนใจในเรื่อง การออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ สวนสนุก ฯลฯ และเด็กได้มีโอกาสในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น จะส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้และความก้าวหน้าทางสติปัญญาได้เป็นอย่างดีทฤษฎี constructionism นี้จึงเกี่ยวข้องกับการสร้าง 2 ประการ กล่าวคือ 1) เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างออกมา เท่ากับว่าเด็กได้สร้างความรู้ขึ้นมาภายในตนเองด้วย และ 2) ความรู้ที่เด็กได้สร้างขึ้นภายในตนเองนี้จะช่วยให้เด็กนำไปสร้างความรู้ใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่ความสลับซับซ้อนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย


สรุป

       ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน เรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลายๆด้านตามที่ผู้เรียนมีความชอบและความสนใจในการเรียนวิชาต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด ความรู้ ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นหลัก


แหล่งอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ(http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง (http://www.budmgt.com/budman/bm01/conslego.html)   (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น