ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)
ทิศนา แขมมณี (2550:105) กล่าวไว้ว่า
ผู้รวบรวม Klausmeier คลอสเมียร์ อธิบายไว้ว่า กระบวนการประมวลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์
รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น
ซึ่งบันทึก
นี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก
และความเอาใจใส่
ของบุคคลที่รับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจสิ่งเร้านั้นจะได้รับการ
บันทึกลงในความจำระยะสั้น (short-termmemory) ความจำจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกมา
วุทธิศักดิ์
โภชนุกูล (http://www.pochanukul.com/?p=154) กล่าวไว้ว่า
1.การทำงานของสมองมนุษย์
มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงาน
3 ขั้นตอนคือ
การรับข้อมูล (input) การเข้ารหัส (encoding) และการส่งข้อมูลออก (output)
2.มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.สิ่งเร้าที่เข้ามาจะถูกบันทึกในความจำระยะสั้นหรือไม่
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือการรู้จัก(recognition) และ ความใส่ใจ(attention)
4.บุคคลจะเลือกสิ่งเร้าที่ตนรู้จักและมีความสนใจ
แล้วบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-term memory) ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่จะจำได้เพียงครั้งละ 7 (+2, -2) อย่างเท่านั้น และต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เกิดการจำ เช่น
การจัดกลุ่มคำ การท่องซ้ำ ๆ
5.ข้อมูลจะได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส
(encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (long-term
memory) ซึ่ง อาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น
การท้องซ้ำ ๆ การทำให้ข้อมูลมีความหมายกับตนเอง
การสร้างความสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม
6.ความจำระยะยาวมี 2 ชนิดคือ
ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (semantic)
และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (episodic) หรืออาจแบ่งได้เป็น
ความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว (motoric memory) และ
ความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (affective memory)
7.การเรียกข้อมูลออกมาใช้
บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (decoding) จากความจำระยะยาว
และส่งต่อไปสู่ตัวก่อพฤติกรรมตอบสนอง
ปริวัตร เขื่อนแก้ว (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)
กล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
สรุป
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(InformationProcessing Theory) เป็นกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์
ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง
ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอน ดังนี้
คือ 1. การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
(Software)
3. การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
แหล่งอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้
เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล (http://www.pochanukul.com/?p=154) (ออนไลน์)
เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555
ปริวัตร เขื่อนแก้ว (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)
(ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น