วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework)


กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework)
      
                พิษณุ   ฟองศรี. (2553 : 94). กล่าวไว้ว่า กรอบแนวคิดในการการวิจัยต้องมีการกำหนดโครงสร้างทางทฤษฎีและกรอบทฤษฎี เพื่อจะได้มีคำอธิบายเมื่อผลการวิจัยเป็นไปตามคาดหมาย หรือตรงกันข้ามกับที่คาดหมาย

                รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2549 : 43).  กล่าวไว้ว่า   การเขียนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร  ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร  แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร

                บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549 : 81). กล่าวไว้ว่า กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์ประเด็นปัญหา กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น

สรุป
                กรอบแนวคิดในการการวิจัยต้องมีการกำหนดโครงสร้างทางทฤษฎีและกรอบทฤษฎีเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร  ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร  แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไรและหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น


แหล่งอ้างอิง
                พิษณุ   ฟองศรี.วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :  บริษัท  ด่านสุทธากาพิมพ์จำกัด.
                รวีวรรณ  ชินะตระกูล.โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
                บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น