วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational definition)


การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational definition)

                พจน์ สะเพียรชัย. (2549 : 56).  กล่าวไว้ว่า ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (Variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จาเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ, ความพึงพอใจ เป็นต้น

             สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538 : 154). กล่าวไว้ว่า  การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการที่จะใช้ในการวิจัย  เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตัวแปรบางตัวแปรที่ใช้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานวิจัยอื่นอย่างไร การนิยามควรเป็นการนิยามเชิงทฤษฏีควบคู่กับการนิยามเชิงปฏิบัติการ

                พิษณุ   ฟองศรี. (2553 : 95). กล่าวไว้ว่า คำนิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นข้อความที่กำหนดวิธีการต่างๆที่สามารถนำไปปฏิบัติหรือวัดค่าของตัวแปรนั้นออกมาได้ โดยการระบุกิจกรรหรือการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการวัดตัวแปร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของผู้วิจัยในการวัดค่าตัวแปรนั้น

สรุป
                การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการที่จะใช้ในการวิจัย  เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตัวแปรบางตัวแปรที่ใช้ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากงานวิจัยอื่นอย่างไร คำนิยามเชิงปฏิบัติการจึงเป็นข้อความที่กำหนดวิธีการต่างๆที่สามารถนำไปปฏิบัติหรือวัดค่าของตัวแปรนั้นออกมาได้ โดยการระบุกิจกรรหรือการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการวัดตัวแปร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของผู้วิจัยในการวัดค่าตัวแปรนั้นตัวอย่างเช่น       คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ, ความพึงพอใจ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง
                พจน์ สะเพียรชัย. (2549). หลักเบื้องต้นสาหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
                สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9).
กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
                พิษณุ   ฟองศรี.  (2553 ).  วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :  บริษัท  ด่านสุทธากาพิมพ์จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น