วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)


การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

                ธีรวุฒิ  เอกะกุล. (2549 : 117). กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ  ให้เป็นระบบหมวดหมู่ แล้วใช้ค่าสถิติช่วยในการสรุปลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ ตามลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ จะ แตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดและการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันขอปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีช่วยในการสร้างข้อสรุปนั้น

                บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539 : 189). กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ซึ่งการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมนั้น ผู้วิจัยควรทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลชนิดอะไร สถิติที่เลือกมาใช้นั้นมีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้าง และค่าสถิติต่างๆ นั้นจะใช้ในสถานการณ์อะไรบ้าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีใช้ในการวิจัย นั้นขึ้นอยู่กับว่าการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น รวบรวมมาจากสมาชิกทุกหน่วยในกลุ่มประชากรหรือรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร   ถ้ารวบรวมจากกลุ่มประชากรสถิติที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็น พรรณนาสถิติ แต่ถ้าการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเป้าหมายในการวิจัยนั้น ต้องการที่จะสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออนุมานสถิติ

                สุภาพ วาดเขียน. (2520 : 30). กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ  การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์  ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์

สรุป
                การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบหมวดหมู่ แล้วใช้ค่าสถิติช่วยในการสรุปลักษณะของข้อมูลนั้นๆ ตามลักษณะของตัวแปรที่ศึกษานั้น ผู้วิจัยควรทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลชนิดอะไร สถิติที่เลือกมาใช้นั้นมีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้าง และค่าสถิติต่างๆ นั้นจะใช้ในสถานการณ์อะไรบ้าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีใช้ในการวิจัย  นั้นขึ้นอยู่กับว่าการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น รวบรวมมาจากสมาชิกทุกหน่วยในกลุ่มประชากรหรือรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์

แหล่งอ้างอิง
                ธีรวุฒิ  เอกะกุล . (2549). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 4 .อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
                บุญเรียง ขจรศิลป์.  (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                สุภาพ วาดเขียน.  (2520).  วิธีวิจัยเชิงการทดลองทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น