วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of related literatures)


ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of related literatures)

                ธีรวุฒิ  เอกะกุล. (2549  : 106-110).   กล่าวไว้ว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดาเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลาดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลาดับเวลาด้วย

                เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547 : 57).  กล่าวไว้ว่า  การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย

            http://202.44.34.144/kmit/knowledge_detail.php?IDKM=318.  กล่าวไว้ว่า  ในการเขียนทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
                1. ถ้าเป็นงานวิจัยที่ต่อเนื่องจากงานที่ทำมาแล้ว และมีผลงานตีพิมพ์แล้ว ควรใส่งานวิจัยของผู้เขียนโครงการวิจัยลงในหัวข้อนี้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงถึงประสบการณ์การวิจัยในเรื่องนั้น และเป็นการแสดงให้ผู้ประเมินโครงการวิจัยเชื่อมั่นว่างานวิจัยนี้น่าจะประสบความสำเร็จได้
                2. ถ้าเป็นงานวิจัยใหม่ที่ยังไม่เคยทำ แต่มีผู้ร่วมวิจัย หรือ collaborator ที่เคยทำงานนี้มาก่อน ให้พยายามใส่งานวิจัยของผู้ร่วมวิจัยนั้นๆ ลงไปในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เห็นว่างานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ

สรุป
                การเขียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการทบทวนแนวคิดหรือทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะนำมาเป็นกรอบความคิดในงานวิจัยของเรา ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา
             1. ถ้าเป็นงานวิจัยที่ต่อเนื่องจากงานที่ทำมาแล้ว และมีผลงานตีพิมพ์แล้ว ควรใส่งานวิจัยของผู้เขียนโครงการวิจัยลงในหัวข้อนี้ด้วย
              2. ถ้าเป็นงานวิจัยใหม่ที่ยังไม่เคยทำ แต่มีผู้ร่วมวิจัย หรือ collaborator ที่เคยทำงานนี้มาก่อน ให้พยายามใส่งานวิจัยของผู้ร่วมวิจัยนั้นๆ ลงไปในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย

แหล่งอ้างอิง
          ธีรวุฒิ  เอกะกุล .   ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 4 .อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

           เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

           http://202.44.34.144/kmit/knowledge_detail.php?IDKM=318    [ออนไลน์].                         
เข้าถึงเมื่อวันที่  5 ธันวาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น